การพัฒนาศักยภาพ.
OCAP
ศักยภาพขององค์กร
การพัฒนาศักยภาพขององค์กรมาจากการผลการประเมินองค์กรที่เปรียบเทียบกับ
ศักยภาพของภาพรวมธุรกิจในระดับประเทศ (NCAP) ซึ่งจะนำไปสู่การเสนอแนวทาง
การพัฒนาศักยภาพที่องค์กรที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งหมด 16 ด้าน ดังนี้
01 การพัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ และการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติจริง
02 ความว่องไวในการปรับเปลี่ยนและการปฏิรูปองค์กรและธุรกิจเพื่อให้แข่งขันได้
03 การพัฒนาธุรกิจ
04 การจัดการลูกค้า
05 การจัดการตลาด
06 การจัดการขายและการขยายช่องทางการขาย
07 การจัดการข้อมูลเพื่อสร้างบทวิเคราะห์
08 การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล
09 การจัดการวิจัย การพัฒนา และการจัดการนวัตกรรม
10 การจัดการทางการเงินและการลงทุน
11 การจัดการความสามารถบุคลากร และโครงสร้างองค์กร
12 การจัดการผลิตและการปฏิบัติการ
13 การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
14 การจัดการด้านคุณภาพ ความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
15 การจัดการความเสี่ยง
16 การจัดการองค์กรและงานธุรการ
NCAP
ศักยภาพของภาพรวมธุรกิจ
ในระดับประเทศ
ศักยภาพของภาพรวมธุรกิจในระดับประเทศ (National Capability Analytics, NCAP)
คือการสรุปผลการประเมินและการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการไทยที่เข้าร่วม
เพื่อให้ได้ภาพรวมของประเทศในมิติดังต่อไปนี้
-
มิติกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector) อุตสาหกรรม (Industry) ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
-
มิติเขตพื้นที่หรือภาค (Area or Region)
-
มิติกลุ่มขององค์กร (Segment) โดยแบ่งตามพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น ยอดขาย กำไร อัตราการเติบโต ระยะเวลาในการดำเนินการ ขนาดขององค์กรหรือจำนวนพนักงาน
หรือลักษณะการร่วมทุน เป็นต้น -
มิติระดับความเป็นองค์กรนวัตกรรม
นอกจากนี้ ทาง สอวช. (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัย
และนวัตกรรมแห่งชาติ) ยังได้นำแบบประเมินและการวิเคราะห์ศักยภาพในระดับประเทศ (NCAP) ไปใช้ในการกำหนดนโยบายระดับชาติเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาความสามารถ
ในการแข่งขันและศักยภาพในระดับประเทศอีกด้วย
การพัฒนาศักยภาพขององค์กร
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ทางการแข่งขัน
การประเมินและการวิเคราะห์ศักยภาพองค์กรของท่าน (OCAP) พร้อมด้วยผลการเทียบเคียง
กับศักยภาพของภาพรวมธุรกิจในระดับประเทศ (NCAP) จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยก
ระดับศักยภาพขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากขึ้น
ข้อมูล OCAP ทั้ง 16 ด้าน จะได้รับการวิเคราะห์โดยรวบรวมผลการดำเนินงานของธุรกิจ
และองค์กรต่าง ๆ รวมถึงปัจจัยหลักที่เป็นตัวกำหนดความสามารถในการแข่งขัน ประสิทธิผล
และความยั่งยืนของการเติบโตของธุรกิจ ดังนั้นองค์กรที่เข้าร่วมจะสามารถระบุจุดแข็ง และ
จุดอ่อนของตน ใช้แนวทางที่แนะนำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กำหนดแนวทางการดำเนินการ
และการแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจงเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข่งและลดจุดอ่อน รวมถึงติดตาม
และตรวจสอบประสิทธิผลของการแทรกแซงต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป
นอกจากนี้ องค์กรที่เข้าร่วมยังสามารถพิจารณาใช้บริการแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้าน
ต่าง ๆ ของ BrighterBee รวมถึงเข้าร่วมในการดำเนินการแก้ปัญหาและโครงการต่าง ๆ
จำนวนมากของหน่วยงานภาครัฐเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งได้แก่ :
โซลูชันการพัฒนาความศักยภาพของ BrighterBee
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)
-
โครงการแปลงเทคโนโลยีเป็นทุน
-
โครงการนวัตกรรมดีไม่มีดอกเบี้ย
-
โครงการคูปองนวัตกรรม
-
โครงการ NIA Venture
-
โครงการกลไกสนับสนุนด้านการเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม (Mind Credit)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
-
โครงการสนับสนุนเร่งการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
-
โครงการบัญชีนวัตกรรม
-
โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iTAP)
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
-
โครงการโครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility)
-
โครงการแผนงานการพัฒนาระบบรองรับการขยายผลหลักสูตรอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาที่เชื่อมโยงสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมแบบบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (WIL)
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
-
โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
-
โครงการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
-
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการพัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
-
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อชุมชนในชนบท
-
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล
-
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการให้ทุนศึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
-
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการจัดกิจกรรมส่งเสริม หรือประกวดการสร้างความตระหนักการจับคู่ธุรกิจ เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
-
มาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อขยายตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล
-
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
-
มาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
-
มาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการรับรองมาตรฐานด้านดิจิทัล
-
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการร่วมวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
-
มาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการจัดทำหรือยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
-
มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
-
มาตรการภาษี 200%
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
-
โครงการกองทุนเพิ่มขีดความสามารถ (Competitiveness Fund)
-
โครงการสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษี
-
โครงการสมาร์ทวีซ่า (SMART Visa)
ธนาคารออมสิน
-
โครงการสินเชื่อ GSB SMEs Start Up
-
โครงการร่วมลงทุนใน Startup
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank)
-
โครงการ SME Transformation Loan
-
โครงการร่วมลงทุนใน Startup
กรมสรรพากร
-
โครงการลดหย่อนภาษีสำหรับ Startup
-
โครงการระดมทุน (Crowdfunding)
-
โครงการกองทุนร่วมลงทุนหรือธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital: VC)
-
โครงการลดหย่อนภาษี 300% สำหรับค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (R&D)
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (SPA)
-
โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
เมืองนวัตกรรมอาหาร
-
โครงการผู้เชี่ยวชาญด้านกลิ่นรส
-
โครงการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารจากต่างประเทศ
-
โครงการวิเคราะห์ความต้องการและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรด้านการวิจัยพัฒนาในอุตสาหกรรมอาหาร
-
โครงการประกวดแนวคิดนวัตกรรมอาหาร
-
โครงการศูนย์วิจัยอาหารแห่งอนาคต
-
โครงการสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม
-
โครงการอบรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ด้านนวัตกรรมอาหารของไทย (PADTHAI)
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)
-
โครงการ Thailand Life Sciences Startup Contest
ธนาคารกรุงไทย
-
โครงการร่วมลงทุนใน Startup