การประเมินศักยภาพ.
การประเมินศักยภาพขององค์กรของเราจะช่วยให้องค์กรของท่านมองเห็นจุดแข็ง
และจุดอ่อนของศักยภาพภายในองค์กร ซึ่งมีมิติการประเมินทั้งหมด 16 ด้าน ได้แก่:
01
การพัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์
และการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติจริง
การกำหนดและสื่อสารวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ ซึ่งครอบคลุมถึงการออกแบบแผนการและรายละเอียดที่ชัดเจนสำหรับพัฒนากลยุทธ์ การรวบรวมสัญญาณทางธุรกิจเพื่อระบุโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนการนำแนวคิดใหม่มาประยุกต์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการหรือรูปแบบธุรกิจ
การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติจริงในองค์กร โดยการสร้างความสอดคล้องแนวดิ่งและราบในการนำแผนกลยุทธ์ในระดับองค์กรลงไปสู่แผนในระดับหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงการประเมินความพร้อมในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติจริง
02
ความว่องไวในการปรับเปลี่ยนและการปฏิรูปองค์กรและธุรกิจเพื่อให้แข่งขันได้
การปรับตัวอย่างว่องไวต่อความเปลี่ยนแปลง โดยให้ความสำคัญกับความว่องไวในการปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในตลาด การตัดสินใจและกำหนดทิศทางของงานที่รวดเร็ว ตลอดจนการเรียนรู้ข้อผิดพลาดและข้อดีได้อย่างรวดเร็ว เปิดรับความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง
การบริหารจัดการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปองค์กรและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสร้างกลไกเพื่อสร้างความยั่งยื่นให้กับผลของการเปลี่ยนแปลง
โดยคำนึงถึงการรวมการเปลี่ยนแปลให้เข้ากับระบบและกระบวนการจัดการที่มีอยู่
การพัฒนาธุรกิจ
03
การวิเคราะห์และระบุโอกาสทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ โดยสร้างกลยุทธ์ในการจัดทำแผนขยายหรือพัฒนาธุรกิจขององค์กร สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และแผนงานระยะยาวขององค์กร
การริเริ่มและพัฒนาโอกาสทางธุรกิจ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ การสร้างความหลากหลาย การเจาะตลาด และการพัฒนาตลาด เป็นต้น
การจัดการลูกค้า
04
การจัดการลูกค้าที่เป็นระบบ ซึ่งครอบคลุมการแบ่งกลุ่มลูกค้า การประเมินขนาดของโอกาสและรายได้จากลูกค้าแต่ละกลุ่ม การเลือกตลาดเป้าหมาย ตลอดจนการหากลุ่มลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง
การรักษาฐานลูกค้าและความผูกผันกับลูกค้าโดยการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้า การประเมินและรักษาความสัมพันธ์ ตลอดจนการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
การจัดการตลาด
05
การตลาดสมัยใหม่ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนผสมทางการตลาดต่าง ๆ ได้แก่ กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ราคา กลยุทธ์การจัดจำหน่าย กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย กลยุทธ์การให้ข่าวสาร และกลยุทธ์การใช้พลัง
การสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
การจัดการด้านกลยุทธ์คอนเทนท์และแพล็ตฟอร์มเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการทำการตลาดที่แข่งขันได้
06
การจัดการขายและ
การขยายช่องทางการขาย
การจัดการด้านกลยุทธ์ทางการขายและการขยายช่องทางการขายที่แข่งขันได้ โดยพิจารณาคุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า
การพัฒนาระบบและเครื่องมือสำหรับฝ่ายขายเพื่อรองรับการดำเนินงานระหว่างฝ่ายขาย
และลูกค้า
07
การจัดการข้อมูลเพื่อสร้างบทวิเคราะห์
การจัดการด้านข้อมูลที่เป็นระบบเพื่อนำข้อมูลและนัยสำคัญไปใช้ในการสร้างและดำเนินกลุยทธ์
การจัดการและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล เช่น การนำเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์มาใช้ เป็นต้น
08
การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล
การจัดการด้านเทคโนโลยีเครือข่ายและการเชื่อมต่อ เช่น อินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง เทคโนโลยี ความปลอดภัยทางไซเบอร์ เทคโนโลยีและศูนย์รวมข้อมูล เทคโนโลยีคลาวด์
และเทคโนโลยีเครือข่ายต่าง ๆ เป็นต้น
การจัดการด้านเทคโนโลยีสำหรับการบริหารธุรกิจ เช่น การวางแผนทรัพยาการ และการเงิน
การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การจัดการทรัพยากรบุคคล
ตลอดจนการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการผลิต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีเฉพาะของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
การจัดการวิจัย การพัฒนา
และการจัดการนวัตกรรม
09
การจัดการด้านนวัตกรรมและงานด้านการวิจัยและพัฒนาที่เป็นระบบ
การจัดการด้านการวิจัยและพัฒนาที่ส่งเสริมความสามารถการแข่งขันขององค์กรในระยะยาว
การจัดการด้านโครงสร้างและบุคลากร กระบวนการ เครื่องมือและเทคนิคเพื่อสนับสนุนและผลักดันนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนา
การจัดการและพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
การจัดการทางการเงิน
และการลงทุน
10
การจัดการด้านการเงิน และการใช้โซลูชั่นในการบริหารด้านการเงินต่าง ๆ เช่น สินเชื่อ หนังสือค้ำประกัน หรือบริการเพื่อการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
การจัดการด้านบัญชี และการใช้โซลูชั่นทางบัญชีต่าง ๆ เข่น บัญชีเพื่อธุรกิจสินเชื่อ
การชำระเงิน บัตรเครดิต บริการเรียกเก็บเงิน ตลอดจนการมีมาตรฐานทางบัญชีต่าง ๆ
การจัดการด้านการลงทุน และการใช้โซลูชั่นในการบริหารด้านการการระดมทุน และ
ความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น บริการหลักทรัพย์ การบริหารสภาพคล่อง และการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น
การจัดการความสามารถบุคลากร
และโครงสร้างองค์กร
11
การจัดการด้านโครงสร้าง การกำหนดบทบาทและขอบเขต ตลอดจนความเชื่อมโยงของงานต่าง ๆ ในองค์กรที่เป็นระบบ
การจัดการด้านกระบวนการดำเนินงานและธุรกิจที่เป็นระบบ เพื่อให้สอดรับกับโครงสร้างในการบริหารจัดการ และการดำเนินโครงการต่าง ๆ
การจัดการด้านบุคลากรทั้งในเชิงจำนวนและคุณภาพ การสร้างความเป็นผู้นำ ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นระบบ
การจัดการผลิต
และการปฏิบัติการ
12
การจัดการด้านกระบวนการผลิตที่เป็นระบบ ตลอดจนการผสมผสานการทำงาน การนำความรู้ด้านวิศวกรรม การวางแผน การซ่อมบำรุง การควบคุมคุณภาพ และการใช้เทคโนโลยีได้อย่างครบวงจร
การจัดการด้านกระบวนการปฏิบัตการซึ่งครอบคลุมทั้งการจัดการด้านคุณภาพ การออกแบบกระบวนการและความสามารถในการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การวางแผนผังโรงงานหรือเครื่องจักร และการจัดการวัตถุดิบ เป็นต้น
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
13
การจัดการด้านการจัดหาจัดซื้อที่เป็นระบบ ทั้งในด้านการจัดกลุ่มหมวดหมู่สินค้า การจัดกลุ่มสินค้า และความโปร่งใสในการตรวจสอบการใช้จ่ายต่าง ๆ
การจัดการด้านการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลังสินค้าและการขนส่ง ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบริษัทผู้ให้บริการภายนอก เพื่อช่วยสนับสนุนกระบวนการทำงานภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการด้านคุณภาพ ความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
14
การจัดการด้านคุณภาพ ซึ่งครอบคลุมการรักษามาตรฐานการผลิต การพัฒนากระบวนการผลิต การปรับใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต และการปฏิบัติการตามกฎข้อบังคับต่าง ๆ
การจัดการด้านความปลอดภัย ตลอดจนการประเมินความเสี่ยง การประเมินความต่อเนื่องของธุรกิจ การประเมินการสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนการวางกลยุทธ์ทั้งในเชิงบริหาร การเงิน และปฏิบัติการ
การจัดการด้านอาชีวอนามัย ตลอดจนการปรับพฤติกรรมบุคลากรให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านอาชีวอนามัย
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อผลักดันแนวความคิดด้านความยั่งยืน ตลอดจนการประยุกต์ใช้โมเดลระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การประยุกต์ใช้โมเดลระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
15
การจัดการความเสี่ยง
การจัดการความเสี่ยง และติดตามดูแลความเสี่ยงในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
16
การจัดการองค์กรและงานธุรการ
การจัดการระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการตรวจสอบกระบวนการปฏิบัติงานภายในองค์กร
การควบคุมการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎระเบียบขององค์กร ตลอดจนปรับพฤติกรรมบุคลากรให้สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบขององค์กร
การกำกับดูแลกิจการให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงประเมินและปรับปรุงระบบไหลเวียนภายในอาคารตามรูปแบบอาคารอัจฉริยะ (Smart Building)